แม่น้ำ


ตัวแปรชีวภาพหลายตัวแปรของแม่น้ำ

1
1
1
1
1
1
1
1


วิธีเก็บตัวอย่างสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินสำหรับประเมินคุณภาพแหล่งน้ำอย่างเร็วด้วยวิธีทางชีวภาพในแม่น้ำ

วัสดุและอุปกรณ์ (ในภาคสนาม)

1. สวิงรูปตัวดี (D-frame net) ที่มีขนาดตาข่าย 450 ไมโครเมตร ขนาดปากสวิง 30 x 30 เซนติเมตร สำหรับเก็บตัวอย่างสัตว์
2. เอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 สำหรับรักษาสภาพตัวอย่างสัตว์
3. ถุงพลาสติกและยางรัดหรือภาชนะสำหรับบรรจุสัตว์และตะกอนที่เก็บได้
4. กระดาษสำหรับทำฉลาก (label) ควรเป็นกระดาษที่เหนียวไม่เปื่อยยุ่ยง่าย
5. ดินสอดำสำหรับเขียนฉลาก (ไม่ใช้ปากกาลูกลื่น เพราะจะถูกลบออกด้วยเอธิลแอลกอฮอร์)
6. แผ่นบันทึกข้อมูลภาคสนาม
7. กล้องถ่ายภาพ เครื่องวัดพิกัดทางภูมิศาสตร์ ฯลฯ


วิธีเก็บตัวอย่าง

1. ในแต่ละฝั่งของแม่น้ำ สำรวจในระยะทางตามแนวชายฝั่ง 500 เมตร แบ่งออกเป็น 6 transect ตามระยะทางทุก 100 เมตร transect ที่ 1 เริ่มที่ด้านท้ายน้ำ การเก็บตัวอย่างจะเริ่มจากบริเวณน้ำใกล้ริมฝั่งออกไปทางแม่น้ำไปจนถึงระดับความลึกประมาณ 1 เมตร หากน้ำลึกมาก ต้องใช้เรือในการเก็บตัวอย่าง

2. ใช้สวิงรูปตัว D ปากกว้าง 30 เซนติเมตร ขนาดตาข่าย 450 ไมโครเมตร เก็บตัวอย่างในแต่ละ transect เป้นระยะทาง 10 เมตร กวาดเก็บตัวอย่างเป็นระยะทางสวิงละ 50 เซนติเมตร จำนวน 6 สวิงตามสัดส่วนแหล่งอาศัย ดังนั้นจะได้พื้นที่ เก็บตัวอย่างเท่ากับ 0.9 ตารางเมตร เก็บจนครบ 6 transect รวมตัวอย่างที่ได้เข้าด้วยกันเป็นตัวอย่างเดียว

3. ดองตัวอย่างด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 เขียนฉลากใส่ลงในภาชนะเก็บตัวอย่าง ระบุชื่อลำธาร สถานที่ตั้ง จุดเก็บตัวอย่าง วันที่เก็บและชื่อผู้เก็บตัวอย่าง

4. เก็บตัวอย่างที่อีกฝั่งหนึ่ง โดยทำเช่นเดียวกัน

การศึกษาในห้องปฏิบัติการ

1. ล้างตัวอย่าง เอาตะกอนออก
2. คัดแยกตัวอย่างออกจากตะกอน จัดจำแนก และนับจำนวนตัวที่พบในแต่ละ taxa
3. คำนวณ เมทริกชีวภาพ
4. อ่านผลประเมินคุณภาพแหล่งน้ำจากเมริกชีวภาพหลายตัวแปร



ติดต่อและสอบถาม: narumon@kku.ac.th สาขาวิชาขีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น