ลำธารต้นน้ำ


ตัวแปรชีวภาพหลายตัวแปรของลำธารต้นน้ำ

1
1
1
1
1
5
5
1
1
5
1
1


วิธีเก็บตัวอย่างสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินสำหรับประเมินคุณภาพแหล่งน้ำอย่างเร็วด้วยวิธีทางชีวภาพในลำธารและแม่น้ำตื้น ๆ

วัสดุและอุปกรณ์ (ในภาคสนาม)

1. สวิงรูปตัวดี (D-frame net) ที่มีขนาดตาข่าย 450 ไมโครเมตร ขนาดปากสวิง 30 x 30 เซนติเมตร สำหรับเก็บตัวอย่างสัตว์
2. เอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 สำหรับรักษาสภาพตัวอย่างสัตว์
3. ถุงพลาสติกและยางรัดหรือภาชนะสำหรับบรรจุสัตว์และตะกอนที่เก็บได้
4. กระดาษสำหรับทำฉลาก (label) ควรเป็นกระดาษที่เหนียวไม่เปื่อยยุ่ยง่าย
5. ดินสอดำสำหรับเขียนฉลาก (ไม่ใช้ปากกาลูกลื่น เพราะจะถูกลบออกด้วยเอทานอล)
6. แผ่นบันทึกข้อมูลภาคสนาม
7. กล้องถ่ายภาพ เครื่องวัดพิกัดทางภูมิศาสตร์ ฯลฯ


วิธีเก็บตัวอย่าง

1. ลำธารที่ศึกษาควรเป็นลำธารตื้น ๆ ที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถเดินข้ามได้ มีน้ำตลอดทั้งปี สถานีหรือจุดที่ศึกษาไม่ควรเป็นบริเวณที่มีการรบกวนจากมนุษย์หรือสัตว์ เช่นเป็นบริเวณสะพาน หรือทางข้ามไปมาของคนหรือสัตว์ และไม่ควรมีลำน้ำสาขาไหลเข้าสู่บริเวณที่ศึกษา แต่หากมีความจำเป็นต้องศึกษาใกล้บริเวณดังกล่าวนี้ ควรกำหนดให้สถานีหรือจุดศึกษาอยู่บริเวณต้นน้ำเหนือจุดที่มีการรบกวนนั้น

2. เมื่อได้สถานีหรือจุดสำรวจแล้ว ภายในลำธารกำหนดระยะทางสำรวจ 100 เมตร

3. ตรวจวัดคุณภาพน้ำด้านกายภาพและเคมี บันทึกสภาพอากาศและการใช้ที่ดินของบริเวณนั้น และประเมินแหล่งอาศัยด้วยแบบประเมินแหล่งอาศัย ก่อนการเก็บตัวอย่างสัตว์

4. วาดแผนที่หรือถ่ายภาพเพื่อแสดงลักษณะของสถานีที่ศึกษา ทำเครื่องหมายตำแหน่งจุดเก็บตัวอย่าง บันทึกพิกัดทางภูมิศาสตร์ และความสูงจากระดับน้ำทะเล ณ จุดล่างสุดของสถานี

5. จะเก็บตัวอย่างสัตว์จำนวนรวม 20 สวิง โดยเก็บตามสัดส่วนแหล่งอาศัยที่พบ เช่น ถ้ามีกองเศษซากใบไม้ร้อยละ 40 บริเวณน้ำไหลเร็วร้อยละ 20 ก้อนหินขนาดกลางร้อยละ 20 และกรวดทรายร้อยละ 20 ให้เก็บตัวอย่างที่กองเศษซากใบไม้ 8 สวิง บริเวณน้ำไหลเร็ว 4 สวิง ก้อนหินขนาดกลาง 4 สวิงและกรวดทราย 4 สวิง เมื่อเก็บเสร็จรวมตัวอย่างทั้ง 20 สวิงนี้ให้เป็นตัวอย่างเดียวกัน

6. การเก็บตัวอย่างสัตว์เริ่มจากทางด้านท้ายลำธาร ในทิศทางทวนกระแสน้ำ โดยวางสวิงแนบกับพื้นลำธาร ให้ปากสวิงทวนทิศทางการไหลของน้ำ ใช้มือหรือเท้ากวนพื้นอาศัย เคลื่อนสวิงไปเป็นระยะทาง 50 เซนติเมตร นับเป็น 1 สวิง ถ่ายตัวอย่างลงในถุงพลาสติกหรือภาชนะเก็บตัวอย่าง จนครบ 20 สวิง ดังนั้นคิดเป็นพื้นที่เก็บตัวอย่างทั้งสิ้นประมาณ 3 ตารางเมตร

7. เมื่อเก็บตัวอย่างครบ 20 สวิงแล้ว ตรวจสอบสัตว์ที่อาจค้างอยู่ในสวิง เก็บใส่ลงในภาชนะเก็บตัวอย่างให้หมด รักษาสภาพด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 เขียนฉลากใส่ลงในภาชนะเก็บตัวอย่าง ระบุชื่อลำธาร สถานที่ตั้ง จุดเก็บตัวอย่าง วันที่เก็บและชื่อผู้เก็บตัวอย่าง ด้านนอกติดฉลากด้วยข้อความเดียวกันและเพิ่มคำว่ารักษาสภาพหรือดองด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 (ไม่ควรติดฉลากที่ฝาภาชนะเพราะอาจเกิดการสับเปลี่ยนได้โดยไม่ตั้งใจทำให้เกิดความผิดพลาดได้)

8. เมื่อเก็บตัวอย่างสัตว์เสร็จสิ้นแล้ว ทำความสะอาดสวิงโดยแกว่งในลำธารให้เศษตะกอนที่คงค้างอยู่ออกให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนของสัตว์ที่อาจหลงเหลืออยู่ในสวิง

การศึกษาในห้องปฏิบัติการ

1. ล้างตัวอย่าง เอาตะกอนออก
2. คัดแยกตัวอย่างออกจากตะกอน จัดจำแนก และนับจำนวนตัวที่พบในแต่ละ taxa
3. คำนวณ เมทริกชีวภาพ
4. อ่านผลประเมินคุณภาพแหล่งน้ำจากเมริกชีวภาพหลายตัวแปร



ติดต่อและสอบถาม: narumon@kku.ac.th สาขาวิชาขีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น